Monday, April 08, 2013

Gartner’s Magic Quadrant กับการใช้งานผิดๆ ของคนไทย

Gartner’s Magic Quadrant กับการใช้งานผิดๆ ของคนไทย


Magic Quadrant คืออะไร?

Magic Quadrant คือการแสดงผลการประเมินความสามารถของแต่ละบริษัท IT ในแต่ละสาขา อย่างเช่นตัวอย่างนี้ เป็น Magic Quadrant ของ Network Access Control (NAC) ประจำปี 2009 ซึ่งในกราฟ Magic Quadrant ที่แสดงออกมาเป็นภาพรวมนั้น จะถูกจัดรวมใน Format นี้
ซึ่งกราฟนี้จะแบ่งบริษัทต่างๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามตำแหน่งของแกน X และแกน Y ครับ โดยสรุปอย่างย่นย่อ แกน Y จะแสดงถึง “ความแข็งแกร่งในปัจจุบัน” และแกน X จะแสดงถึง “โอกาสที่จะแข็งแกร่งในอนาคต” ครับ
คนที่แข็งแกร่งทั้งปัจจุบัน และอนาคต จะถูกจัดเป็น Leaders คือเป็นผู้นำตลาดทั้งปัจจุบันและน่าจะเป็นในอนาคต
คนที่แข็งแกร่งในปัจจุบัน แต่อนาคตยังไม่โดดเด่นนัก จะถูกจัดเป็น Challengers คือผู้ท้าชิงนั่นเอง
คนที่ปัจจุบันยังไม่แข็งแกร่งมากนัก แต่อนาคตมีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้นำได้ จะถูกจัดเป็น Visionaries หรือผู้ที่มีวิสัยทัศน์ครับ
และสุดท้าย ผู้ที่ในปัจจุบันก็ยังไม่แข็งแกร่งมาก และอนาคตก็มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำได้น้อย จะถูกจัดเป็น Niche Players ครับ หรือเป็นผู้เล่นในตลาดเฉพาะกลุ่มนั่นเอง

คนไทย กับความเชื่อใน Gartner

คราวนี้จากประสบการณ์ที่ผมเจอมา ลูกค้าบางกลุ่ม อย่างเช่นเอกชน หรือธนาคาร หลายๆ ครั้งกลับเลือกที่จะใช้ Gartner Magic Quadrant เป็นตัวตัดสินในการเลือกผลิตภัณฑ์เลย โดยหลายๆ ครั้งผู้ที่เชื่อก็ยังไม่ได้เข้าใจในวัตถุประสงค์ของ Magic Quadrant มากนัก
บางครั้งผมก็เห็น ToR หรือคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ มีกำหนดไว้ถึงว่า “ต้องอยู่ใน Gartner Magic Quadrant ตำแหน่ง Leaders เท่านั้น”!
จริงๆ โดยส่วนตัวแล้วผมก็เห็นว่า เจ้าของเงินมีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้ออะไรตามใจก็ได้ แต่ในอีกมุม ผมก็เสียดายเงินแทนหน่วยงานนั้นๆ ครับ
เพราะจริงๆ แล้ว ในการตัดสินว่าใครจะอยู่ตำแหน่งไหนใน Magic Quadrant นั้น ถ้าลองอ่านเงื่อนไขในการตัดสินผลแล้ว จะพบว่า “ของที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด ไม่ได้เป็นไปตามที่ Gartner ตัดสินเสมอไป!”

แล้ว Gartner เค้าตัดสินยังไง?

ถ้าใครอ่านหน้านี้ จะพบครับว่า ใน Criteria กว่า 15 ข้อนั้น มีเพียง 1 ข้อเท่านั้น ที่กล่าวถึงคุณภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นจะเป็นเรื่องของ Sales และ Marketing ว่าบริษัทนี้เข้าใจตลาดมากน้อยแค่ไหน มีการทำการตลาดที่ดีแค่ไหน มองถึงอนาคตแค่ไหนเสียมากกว่า
และ Gartner เองก็แนะนำว่า Magic Quadrant นี้ใช้ได้เป็นเกณฑ์หนึ่งเท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์ใดจะเหมาะกับคุณที่สุด ทั้งในแง่ของราคา คุณภาพ และความสามารถเฉพาะทาง อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ปัจจัยอื่นๆ ในองค์กรของคุณเองครับ

แล้วสรุปว่า Gartner น่าเชื่อถือแค่ไหน?

Gartner ก็โอเคครับในแง่ว่า ถ้าจะซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัท ที่อยู่ๆ มันไม่เจ๊งหายจากตลาดไปแน่นอน Gartner ก็เชื่อถือได้ระดับนึง และการที่แต่ละบริษัทจะมีชื่ออยู่ในรายชื่อนี้ได้ในแต่ละปี อย่างน้อยๆ จะต้องผ่านเกณฑ์พื้นฐานทางด้านยอดขายก่อนครับ อาจจะเป็น 10 ล้านเหรียญ หรือ 20 ล้านเหรียญในปีล่าสุดก็ว่ากันไปครับ
แต่ถ้าจะมองหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด การมองหาเฉพาะใน Leaders เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแน่ๆ ครับ เพราะเนื่องจากองค์ประกอบของการจัดลำดับเป็นการตลาด การขายซะมาก ดังนั้นจริงๆ ถ้าใครทำการตลาดเก่งๆ มี Distribution Channel ที่กว้างขวาง ก็จะขายได้เยอะ และมีโอกาสได้เป็น Leaders สูงกว่าบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ดี แต่ทำการตลาดไม่เก่งครับ
นอกจากนี้ Gartner เอง ก็ยังเคยถูกฟ้องร้อง, ร้องเรียน รวมถึงวิจารณ์ต่างๆ นานา ทั้งเนื่องจากความผิดพลาดของข้อมูล, Vendor ที่หายไป แต่ที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นปัญหาที่สุด คือการที่รายได้ของ Gartner มาจากบริษัทที่จ่ายเงินให้ Gartner ทำการสำรวจเนี่ยแหละครับ เป็นปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อตำแหน่งของบริษัทนั้นๆ ใน Magic Quadrant โดยตรง ไม่มากก็น้อยครับ
รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่ม Opensource เอง อย่าง WordPress ก็เคยไม่ได้รับการจัดอันดับเช่นกัน ซึ่งผมว่า WordPress น่าจะถูกจัดได้ว่าเป็น 1 ใน Enterprise Solution ได้เช่นกันนะครับ ใครที่เคยเอามาทำนู่นทำนี่คงจะรู้ดี
และในมุมมองส่วนตัวของผม ถ้าคุณเป็นนักลงทุนในตลาด IT ที่เล่นหุ้นเมืองนอกเยอะๆ การมาดู Gartner Magic Quadrant ในแต่ละปี ช่วยประกอบการตัดสินใจ ก็จะเป็นอีกไอเดียที่ดีสำหรับคุณครับ

แล้วควรจะทำยังไง?

ผมคิดว่าสุดท้าย Gartner เป็นได้เพียงแค่ตัวช่วยในการให้เราได้รู้จักชื่อ Vendor ในแต่ละตลาดครับ ว่ามีใครอยู่บ้าง แต่การจะเลือกว่าจะซื้อของใคร ก็ต้องใช้หลักการสูงสุดคืนสู่สามัญครับ คือเรียก Vendor มา Demo, PoC กันไปเป็นรายๆ
เพราะเอาเข้าจริง ของจะดีหรือของจะไม่ดี ก็อยู่ที่ตัวแทนในประเทศไทยด้วยครับ ว่ามีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน
ที่มา http://bit.aruj.org/2010/11/02/gartners-magic-quadrant-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%86-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/


BIT.ARUJ.ORG


Boot Notebook Dell Vostro131 ไม่ขึ้น

ปิดเครื่องแล้วเข้า office เปิดอีกครั้ง Boot ไม่ขึ้น
ขึ้นว่า Boot error ใช้ hiren boot ดู ดันจะให้ format ซะงั้น หา partition ไม่เจอ งานเข้าเลย
ข้อมูลเพียบ โปรแกรมอีก นั่นไม่เท่าไหร่ ห่วงหนังนี่ซิ หายากด้วย
เครียดอยู่พักใหญ่ ใช้ ทุก software ทุกอย่างที่รู้จัก ผ่านไป 3 ชั่วโมง
ได้ program smart partition recovery ช่วย
Click ไป click มา ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว
พระเจ้า เขา ช่วยได้ drive C มาแร้ว .....
ขอบคุณ program smart partition recovery



Harddisk Ext WD Element


ถอย Harddisk มาใหม่
ความเร็วที่ได้ USB 3.0

ของเค้าแรงจริง


ทำไมถึงต้อง USB 3.0:
ความเร็ว ? ตามหลักแล้ว USB 3.0 นั้นจะมีความเร็วสูงกว่า USB 2.0 ถึง 10 เท่าโดยจะมีความเร็วในการแลกเปลียนข้อมูลสูงสุดถึง 4.8 Gbps ซึ่งสูงกว่า USB 2.0 ที่มีความเร็วในการแลกเปลียนข้อมูลสูงสุด 480 Mbps
การเชื่อมต่อของช่องที่เพิ่มขึ้นภายในของตัวสาย ? ซึ่งจะทำให้ USB 3.0 นั้นสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ไปพร้อมๆ กับเขียนข้อมูลในคราวเดียวกัน ซึ่งต่างกับ USB 2.0 ที่ต้องทำการอ่านหรือเขียนได้ทีละอย่าง
ประหยัดพลังงานมากกว่า ? USB 3.0 นั้นได้ลดพลังงานการใช้งานอุปกรณ์น้อยลงจาก 4.4 V เหลือ 4 V แต่เพิ่มความเร็วในการส่งพลังงานให้เยอะขึ้นจาก 500 mA เป็น 900 mA ซึ่งจะทำให้การชาร์ตอุปกรณ์ที่สนับสนุน USB 3.0 ที่เสียบผ่านสาย USB 3.0 ชาร์ตเร็วขึ้นด้วย
มี Backward Compatible ? หรือการสนับสนุนอุปกรณ์รุ่นก่อนเช่น USB 2.0 ซึ่งยังสามารถทำการเสียบอุปกรณ์ USB 2.0 เข้า USB 3.0 ได้แล้วยังเสียบอุปกรณ์ USB 2.0 เข้า USB 3.0 ได้อีกด้วยเช่นกัน โดยจะมีความเร็วแค่เท่าของ USB 2.0